วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ในกรุงหรือบ้านนอก บอกหนูที...ใครดีกว่ากัน????

คุณคิดอย่างไรกับความแตกต่างระหว่างสังคมเมือง และ สังคมชนบท

ลักษณะทั่วไปของสังคมไทย

     เป็นสังคมที่บุคคลสามารถเลือกปฎิบัติในสิ่งที่ตนพอใจ ไม่ยึดถือว่าต้องปฎิบัติเป็นแบบเดียวกัน สังเกตได้จาก ค่านิยมของคนไทยหลายประการที่ขัดกันเองเช่น " ช้า ๆ ได้พร้าสองเล่มงาท" ในขณะเดียวกันก็มีค่านิยมว่า"น้ำขึ้นให้รีบตัก" หรือ "มือใครยาว สาวได้สาวเอา" เป็นการแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ที่ยึดมั่นในสิ่งใดหรือไม่จริงจังต่อสิ่งใด ขอให้สบายก็แล้วกัน บุคคลจะทำตามความพอใจมากกว่าสังคม มีการยืดหยุ่น ไม่มีกฎตายตัวแต่ก็ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง หรือถึงกับทำให้เดือดร้อนจนอยู่ในสังคมนี้ได้


สังคมไทย

     จัดเป็นรูปแบบสังคมเกษตรกรรม ประมาณ ร้อยละ 80 ของประชากรทั่วประเทศทำการเพาะปลูก และเลี้ยงสัตว์ ระบบสังคมไทย   อาจแบ่งเป็น 2 ระบบคือ
       - สังคมชนบท
       - สังคมเมือง
    ทั้งสองระบบนี้เป็นตัวกำหนดบทบาทหน้าที่ และวิถีชีวิต ของคนในสังคม
ไทยซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงน้อยจะเปลี่ยนแปลงน้อยจะเปลี่ยนแปลงเฉพาะ ผู้อยู่ในเมืองเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งถือว่าเป็นเพียงคนกลุ่มน้อยของสังคมไทย เพราะประชากรส่วนใหญ่จะอยู่ในชนบททำการเกษตร ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีมีการศึกษาน้อย  ฐานะยากจน ไม่ค่อยยอมรับความคิดเห็นใหม่ ๆ ยึดถือเงินตรา เกียรติ อำนาจ มีโครงสร้างของชนชั้นยกย่องความเป็นเจ้าคนนายคน ยึดบุคคลเป็นหลัก ยกย่องผู้อาวุโส