- ความอยากรู้ อยากทดลอง ความคึกคะนองของเยาวชน -ความต้องการให้เป็นที่ยอมรับของกลุ่มเพื่อนหรือเข้ากับเพื่อนได้ - ความไม่รู้หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเยาวชนใช้ยาในทางที่ผิดหรือหลงเชื่อคำโฆษณา
- จิตใจของเยาวชนเอง จิตใจอ่อนแแอ ใจคอไม่หนักแน่น เมื่อมีปัญหา ไม่สมหวัง ไม่ไตร่ตรองหาเหตุผลเพื่อแก้ปัญหา ก็ใช้ยาหรือยาเสพติดเป็นเครื่องช่วยระงับความรู้สึกทุกข์ของตน ใช้บ่อยๆ ทำให้เกิดการเสพติด ฉะนั้น การป้องกันและแก้ไขตนเองของเยาวชนให้ปลอดภัยจากปัญหายาเสพติด สามารถกระทำได้โดย
๑. ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับโทษและพิษภัยของยาเสพติด และระมัดระวังในการใช้ยา | ||||
๒. รู้จักเลือกคบเพื่อนที่ดี ส่งเสริมให้คิดและกระทำสิ่งดีมีประโยชน์กล้าพูดปฏิเสธเพื่อนที่ชักจูงไปในทางที่ไม่ดี เช่น การพูดปฏิเสธเพื่อนที่ชวนให้ลองเสพยาเสพติด | ||||
๓. ใช้เวลาว่าง และความอยากรู้ อยากลอง ไปในทางที่เป็นประโยชน์พึงระลึกเสมอว่าตนเองนั้นมีคุณค่าทั้งต่อตนเอง ครอบครัว และสังคม | ||||
๔. มีความภาคภูมิใจและนับถือตนเอง ด้วยการไม่พึงพาหรือเกี่ยวข้องอบายุมขและสิ่งเสพติดใดๆ ซึ่งจะนำความเสื่อม ไปสู่ชีวิตของตนเอง | ||||
๕.รู้จักแก้ไขปัญหาชีวิตของตนเองด้วยเหตุและผล | ||||
๖. รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง ด้วยการตั้งใจศึกษาเล่าเรียน เชื่อฟังคำสั่งสอนของ พ่อแม่และประพฤติแต่ในสิ่งที่ดีงาม จะช่วยให้เยาวชนประสบกับความสำเร็จในชีวิต | ||||
๗. ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส เข้าใจวิธีการดำเนินชีวิตและยอมรับความเป็นจริง ที่ตนเองเป็นอยู่ โดยนำหลักศาสนามาเป็น แนวทางในการดำเนินชีวิต จะช่วยให้เยาวชนเกิดความมั่นคงทางด้านจิตใจมากขึ้น | ||||
๘. เมื่อมีปัญหา รู้จักปรึกษาผู้ใหญ่ พ่อ แม่ หรือผู้ที่ไว้วางใจ หรือ หน่วยงานต่างๆ ที่รับให้คำปรึกษา ในฐานะที่เยาวชนเป็น สมาชิกคนหนึ่งของครอบครัว จึงควรมีส่วนช่วย พ่อแม่ ผู้ปกครอง การป้องกันปัญหายาเสพติดแก่ครอบครัวาของตนเอง
| ||||
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น